- - ห้องสมุดประชาชนอำเภอท่าลี่ - -
[x] ปิดหน้าต่างนี้
 


 



เชิญแว๊ะชมประเพณีแห่ต้นดอกไม้ข้าวและข้าวพันก้อน บ้านอาฮี ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย จัดขึ้นในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี
 
                 ประวัติการทำและแห่ต้นดอกไม้ ประเพณีแห่ต้นดอกไม้มีมาตั้งแต่ครั้งไหนไม่ทราบแน่ชัดแต่ได้มีการอนุรักษ์และปฏิบัติสืบสานโดยพี่น้องชาวตำบลอาฮี จากคนรุ่นต่อรุ่นมาจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อถึงวันสิ้นศักราชหรือวันสังขารล่วง ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ชาวบ้าน จะทำน้ำหอม จากมวลดอกไม้และสมุนไพร ไปสรงพระพุทธรูป รดน้ำผู้สูงอายุเพื่อขอพร จากนั้นจึงเที่ยวสาดสรงน้ำ แก่คนทั่วไป เรียกว่าเล่นสงกรานต์พอย่างถึงวันรุ่งขึ้น14เมษายนเป็นวันเน่าหรือวันเนาว์ก็พร้อมกันอันเชิญ พระคู่บ้านคู่เมือง แห่ไป ตามถนนรอบ ๆ ชุมชนให้คนทุกเพศทุกวัยได้สาดสรงน้ำสักการะ 15 เมษายน วันสงกรานต์นั้นคุ้มต่าง ๆ จะพร้อมกันทำต้นดอกไม้ ธงหลากสี ก่อกองทราย พอตกบ่ายก็แห่ต้นดอกไม้และจัตุปัจจัยจากคุ้มของตนมา
พร้อมกันที่วัด ไหว้พระรับศีล ฟังเทศน์อานิสงฆ์ถวายต้นดอกไม้ทำพิธีขอขมาคารวะต่อพระรัตนตรัยจึงเสร็จพิธี อนึ่งทุกคืนระหว่างนี้จะมีการแห่ข้าวพันก้อน ไปเยี่ยมเยือนคุ้มต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน

วัตถุประสงค์ในการแห่ต้นดอกไม้
พระรัตนตรัย เป็นสิ่งเคารพสูงสุดของ ชาวพุทธ เมื่อถึงวันสงกรานต์ก็อันเชิญพระพุทธรูปลงจากแท่นที่เคยประดิษฐาน กราบไหว้ มาแห่และสรงกันเป็นที่สนุกสนาน ทั้งพระภิกษุสามเณรและชาวบ้าน ในการนี้อาจได้ล่วงเกินด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมใด ๆ ก่อนจะอันเชิญกลับไปประดิษฐานที่เดิม จึงนำดอกไม้ ของหอม ธูปเทียนมากราบ ขอขมาลาโทษไม่ให้เป็นบาปกรรมอัปมงคลติดตัวไปทั้งในชาตินี้หรือชาติหน้า
แผนการจัดทำต้นดอกไม้
1.คนถือป้าย 2 คน
2.คนหามต้นดอกไม้ 4 คน
3.วงมโหรี ประกอบด้วย กลองยาว, ฉิ่ง,ฉาบ, ขลอ,กระโหล่ง รวมเป็น 12 คน
4.ผู้แสดงฟ้อนรำ อยู่หน้าต้นดอกไม้(สวมเสื้อม่อฮ้อม,ใส่ผ้าถุง,
ใส่ผ้าสไบ) 20 คน 5.ชุดผู้ติดตาม อยู่ข้างหลังต้นดอกไม้
(สวมเสื้อม่อฮ้อม,ใส่กางเกงขายาวสีดำ)30คน
6.ผู้ควบคุมทีม 6 คน 
                                            

                             

สภาพปัจจุบัน
ประเพณีแห่ต้นดอกไม้บ้านอาฮีได้ซบเซามาเป็นเวลานานหลายสิบปี เนื่องจากมหรสพสมัยใหม่สามารถตอบสนองความต้องการได้รวดเร็ว กว่าแต่ยังมีผู้สูงอายุบางกลุ่มที่ยังถือปฏิบัติสืบทอดต่อมาซึ่งน่าวิตกว่า ประเพณีเหล่านี้จะต้องสูญหายไปกับยุคสมัยและบุคคลเหล่านั้นนับเป็น นิมิตหมายอันดีที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติถือกำเนิดขึ้นและส่งเสริม ประชาชนเจ้าของ วัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีองค์กรของตนเอง คือ สภาวัฒนธรรมตำบลเพื่อเป็นศูนย์รวมของประชาชนผู้รักขนบธรรม เนียมประเพณีของท้องถิ่นได้แสดงออกถึงความรักเชิดชูภูมิปัญญา ของปู่ย่าตายาย
บัดนี้ สภาวัฒนธรรมตำบลอาฮีโดยการส่งเสริมและสนับสนุนของ องค์การบริหารส่วนตำบลอาฮี ได้จัดงานส่งเสริมประเพณีแห่ต้นดอกไม้ ในวันที่ 16 เมษายนของทุกปีจะมีประกวดขบวนแห่ต้นดอกไม้ ประกวดหมอลำหมอแคน หมอสอย จ่ายผญา การละเล่นพื้นบ้าน และร่วมสนุกตลอดทั้งวัน
                                                 

 วิธีทำต้นดอกไม้
การนำดอกไม้มากราบพระ เมื่อปฏิบัติสะสมเป็นประเพณีติดต่อกันยาวนานก็พัฒนามาเป็นการประดิษฐ์เป็นพุ่มไม้ขนาดใหญ่ เรียกว่า “ ต้นดอกไม้ ” แล้วช่วยกันหาดอกไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตามฤดูกาล เช่นดอกคูน ดอกจำปาหรือลั่นทม มาประดับ ตกแต่ง แล้วแห่แหนกันครึกครื้นสนุกสนานเพื่อไปถวาย หรือบูชาพระที่วัดอาจารย์ กล่าวถึงบุญแห่ดอกไม้ไว้ ในหนังสือ ฮีตสิบสองคลองสิบสี่ ว่าภายหลัง วันตรุษสงกรานต์ ตามหมู่บ้านบางแห่งมีการแห่ดอกไม้ พิธีการในการแห่ดอกไม้ ในเวลากลางวันชาวบ้านนำเอาไม้ไผ่มาทำเป็นต้นหุ้มด้วยกาบกล้วยหรือหญ้าคา แล้วประดับประดาด้วยใบไม้
หรือดอกไม้ เช่น ดอกคูนและดอกไม้ป่าชนิดอื่น ๆ และมีเครื่องไทยทาน เช่น สมุดดินสอ กระดาษ ฝ้าย ไหม ไม้ขีดไฟ ธูปเทียน ฯลฯ ประดับประดาอย่างสวยงามเรียกว่า “ ต้นดอกไม้ ” พอตอนเย็นใกล้พลบค่ำก็ทำการแห่ นำต้นดอกไม้ ไปถวายพระที่วัด ในขณะแห่ผู้ร่วมจะถือดอกไม้ ธูปเทียนไปด้วย การแห่ก็ทำอย่างสนุกสนาน มีฆ้องมีกลองพร้อม ดนตรีอื่น ๆ ผู้แห่ไป ส่วนมากเป็นหนุ่ม ๆ สาว ๆ และเด็ก มีผู้เฒ่าผู้แก่บ้าง พอถึงวัดก็แห่รอบวัด 3 รอบ จึงนำดอกไม้ ไปถวายพระสงฆ์มีการไหว้พระ รับศีล กล่าวคำถวายดอกไม้ และฟังเทศน์ฉลองต้นดอกไม้ด้วย ไปประดิษฐานไว้ตามเดิม การจัดทำต้นดอกไม้ มักจัดทำเป็นกลุ่ม ๆ ในหมู่บ้านหนึ่งมักเปลี่ยน กลุ่มจัดทำ โดยไม่ซ้ำกันกับที่เคยทำแล้ว

                                     

                                     

 



เข้าชม : 2875
 
 

ห้องสมุดประชาชนอำเภอท่าลี่
ถนนทรงฆะศิริ   ตำบลท่าลี่  อำเภอท่าลี่  จังหวัดเลย  โทรศัพท์ ๐๔๒-๘๘๙๐๑๔ 

Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   ศุรศักดิ์