เวบไซต์ กศน.ตำบล - กศน.ตำบลวังยาว

เวบไซต์ กศน.ตำบล

สรุป รื่อง แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ปรับปรุง 2559 )

สรุปการรับชม รายการ ETV
17/3/2559
เรื่อง แนวทางการดำเนินงานการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ( ปรับปรุง 2559 )
วิทยากร :
❤ สุรพงษ์ จำจด เลขาธิการ กศน.
❤ ศุทธินี งามเขตต์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาหลักสูตร
❤ นรา เหล่าวิชยา ผอ.กศน.จ.พิษณุโลก
❤ บุญส่ง ทองเชื่อม ผอ.กศน.อ.เมืองฯ จ.ขอนแก่น
- โยธิน พรหมณี หัวหน้า กศน.ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี จ.สงขลา
1) ทำไมจึงต้องปรับการเรียนการสอน กศ.ขั้นพื้นฐาน
- จากการจัดการศึกษาที่ผ่าน ๆ มา เราไม่ได้จัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทำให้ประชาชนย้ายถิ่น จากชุมชนชนบทไปชุมชนเมือง ทำให้ชุมชนไม่เข้มแข็ง
- หลักสูตร กศน. 51 มีวิชาเลือกมากเกินไป เป็นปัญหาในการจัดการ
.
2) ปรับอย่างไร
- วิชาบังคับจะปรับนิดหน่อย โดยจะวิเคราะห์ว่าเนื้อหาใดที่ “ต้องรู้” แล้วจะแจ้งให้ครูนำไปทำความเข้าใจกับนักศึกษา และในการออกข้อสอบปลายภาคก็จะสอบเฉพาะในเนื้อหาที่ต้องรู้นี้เท่านั้น ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อสอบ N-NET ด้วย เพราะจะใช้ผังข้อสอบ ( Test blueprint ) และ คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ ( Item specification ) เดียวกัน
- วิชาเลือก ปรับโดยแบ่งวิชาเลือกเป็น 2 ส่วน คือ เลือกเสรี กับ เลือกบังคับ(ประถม 4 นก., ม.ต้น-ปลาย 6 นก.) วิชาเลือกบังคับ คือ
วิชาพลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน
วิชาการบริหารการเงินหรือเศรษฐศาสตร์ชุมชน
วิชาเลือกเสรี ให้เลือกเป็นโปรแกรมเรียน โดยใช้ชุมชนและผู้เรียนเป็นฐานในการกำหนดโปรแกรมเรียนวิชาเลือกเสรี ( สอดคล้องกับแผนจุลภาค ) เช่น ใช้อาชีพของผู้เรียนเป็นวิชาเลือก ( โปรแกรมการเลี้ยงปลา โปรแกรมการเลี้ยงกบ โปรแกรมขับรถบรรทุก โปรแกรมเสริมสวย โปรแกรมนำเที่ยวท้องถิ่น ) ใน 1 โปรแกรมอาจมี 2 วิชา หรือกี่วิชาก็ได้ที่เกี่ยวข้อง โดยนำอาชีพมาเทียบโอนได้ส่วนหนึ่ง และเรียนเพิ่มเพื่อพัฒนาอาชีพ
ซึ่งสถานศึกษาต้องปรับหลักสูตรสถานศึกษา และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสถานศึกษา
การวัดผลประเมินผลวิชาเลือกเสรี รวมทั้งสัดส่วนคะแนนระหว่างภาคกับปลายภาคของวิชาเลือกเสรี ให้สถานศึกษากำหนดเอง โดยปรับระเบียบการวัดผลประเมินผลของสถานศึกษา ( อาจวัดผลจากภาคปฏิบัติ ถ้าจะสอบข้อเขียน เน้นให้สอบแบบอัตนัย ข้อเดียวก็ได้ )
โปรแกรมเรียนวิชาชีพเดียวกัน ต้องมีความแตกต่างกันในระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย
สื่อแบบเรียนวิชาเลือกเสรีที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้น ให้จังหวัดเป็นผู้ตรวจ
การขอออกรหัสวิชาเลือกเสรี ให้ผ่านการพิจารณาของ สนง.กศน.จังหวัด
.
3) ปรับเมื่อไร
เริ่ม ภาคเรียนที่ 1/59 แต่ ภาคเรียนที่ 1/59 ยังพัฒนาโปรแกรมเรียนวิชาเลือกเสรีไม่เสร็จ ให้เรียนเฉพาะวิชาบังคับกับวิชาเลือกบังคับก่อน
( นศ.เก่า สามารถจะเข้าสู่โปรแกรมเรียนใหม่ได้เลย )

ดูรายการสายใยกศน.

ประชุมเชิงปฏิบัติการ โรงแรมเลยพาเลซ

 

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ นางหนูเวียง เนาวราช หัวหน้ากศน.ตำบลวังยาว เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการปรับรายละเอียดคำรับรองการปฏิบัติราชการและปรับแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ จัดโดย สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย ณ ห้องชัยพฤกษ์ โรงเรียนเลยพาเลซ มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๘๐ คน

อบรมพัฒนาบุคลากร กศน.อำเภอด่านซ้าย

 

#ทำวัดเย็นโครงการฝึกอบรมหลักสูตร"พัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนางานและบุคลิคภาพที่เป็นเลิศ" ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2559 ณ วัดเนรมิตวิปัสสนา

โพสต์โดย กศน.อำเภอด่านซ้าย บน 11 มีนาคม 2016

กีฬากศน.สัมพันธ์

 

บรรยากาศ แข่งขันกีฬาต่างๆ (28 ก.พ. 59)

โพสต์โดย กศน.อำเภอด่านซ้าย บน 28 กุมภาพันธ์ 2016

ข่าวสนง.กศน.

ข่าวสนง.กศน.

กศน.ตำบลวังยาว

ประวัติ  กศน.ตำบล
ตำบลวังยาวก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ.  2420  ตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษสืบต่อกันมา ซึ่งมีการตั้งชื่อตามลักษณะของแหล่งน้ำ  ตามคำเรียกของชาวบ้านว่า  “วังยาว”เพราะมีสภาพภูมิประเทศ เป็นที่ลาดลุ่มหุบเขาและมีลำธารไหลผ่านหลายสาย
สำนักงาน  กศน.  ได้จัดงาน  “สัมมนาสมัชชา  กศน.ตำบล : ศูนย์การเรียนชุมชนตลอด
ชีวิต”  เมื่อวันอังคารที่  ๑๒  ตุลาคม  ๒๕๕๓  ณ.ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค  บางนา  กรุงเทพมหานคร  ได้มอบหมายนโยบายให้สำนักงาน  กศน.จังหวัดทุกจังหวัด/กทม. จัดให้มี กศน.ตำบล : ศูนย์การเรียนชุมชนตลอดชีวิต  ซึ่งมีวิสัยทัศน์คือ  “คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ  อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้”  โดยให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเท่าเทียมกัน  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  พร้อมทั้งให้ปรับบทบาทสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต  เพื่อเติมเต็มระบบการศึกษาให้รองรับการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
เมื่อวันที่  ๑  กันยายน  ๒๕๕๒  สำนักงาน  กศน.จังหวัดเลย  ได้ปรับศูนย์การเรียนชุมชนใน
ทุกตำบลให้เป็น  กศน.ตำบล  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลวังยาว  จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น  “กศน.ตำบลวังยาว”  โดยมีนางหนูเวียง  เนาวราช  ครู กศน.ตำบลวังยาว เป็นหัวหน้า กศน.ตำบลวังยาว  นายภูษิต  พรหมรักษา  ครู กศน.ตำบล และนางสาวนฤมล  ราชพัฒน์  ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน  เป็นผู้ประสานงาน
กศน.ตำบลวังยาว มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  การจัดการศึกษาต่อเนื่อง  การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และการศึกษาตามอัธยาศัย  ในแต่ละปีงบประมาณให้กับกลุ่มเป้าหมายตามเกณฑ์ขั้นต่ำจำนวน  ๕๖๐  คน  ประกอบด้วย
๑. การศึกษาขั้นพื้นฐาน      จำนวน    ๖๐  คน
๒. การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต    จำนวน    ๒๐  คน
๓. การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน   จำนวน    ๖๐  คน
๔. การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ    จำนวน    ๒๐  คน
๕. กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   จำนวน  ๑๐๐  คน
๖. กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย    จำนวน  ๓๐๐  คน
การจัดตั้ง กศน.ตำบล มีความมุ่งหมายที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชนในชุมชน  แบ่งกิจกรรมหลักของ  กศน. ตำบล  ดังนี้
๑. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน  (Information Center)  กศน.ตำบลวังยาวได้รวบรวม
ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  ของชุมชน  เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ชุมชน  ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  การเมืองการปกครอง  การศึกษา  สาธารณสุข  ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกันกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นสถานที่ที่คนทั่วไปจะมาศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนได้  นอกจากนั้นได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้อื่นๆ  ด้วย  เช่น  ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  การประกอบอาชีพ  การทำมาหากิน
๒. ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center)  กศน.ตำบลวังยาว  ได้ร่วมกับ
องค์การบริหารส่วนตำบล  ใช้  กศน.ตำบลเป็นสถานที่ที่จัดให้บริการเพื่อสร้างโอกาสเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชน  เช่น  กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fit it Center)  ของวิทยาลัยการอาชีพ
ด่านซ้าย  ที่ประชาชนสามารถมาใช้บริการซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  วิทยุ  เครื่องยนต์ขนาดเล็ก  กิจกรรมส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค  กิจกรรมให้บริการของ อสม.ประจำหมู่บ้าน
๓. ศูนย์การเรียนชุมชน (Learning Center)  กศน.ตำบลวังยาวจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่างๆ 
ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน  เช่น  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน  จัดการศึกษาต่อเนื่อง   จัดการศึกษาตามอัธยาศัย  โดยจัดหลักสูตรการทำมาหากินในรูปของหลักสูตรระยะสั้น  จัดฝึกอบรมประชาชน  และการถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสำหรับประชาชน  เช่น  การเรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ในประชาคมอาเซียน  การเรียนรู้เกี่ยวกับการเป็นพลเมือง  (Civic Education)  การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น  นอกจากนี้  กศน.ตำบลวังยาว ยังจัดพื้นที่เป็นห้องสมุดชุมชนเพื่อส่งเสริมการอ่านของประชาชน  และจัดให้มีเครื่องรับโทรทัศน์  และรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆด้วย
๔. ศูนย์ชุมชน (Community Center) กศน.ตำบลวังยาวเป็นสถานที่ที่คนในชุมชนมาทำ
กิจกรรมร่วมกัน  เช่น  การจัดเวทีชาวบ้าน  เวทีประชาคม  หรือใช้เป็นสถานที่พบปะเสวนา  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแม้แต่เป็นที่ “โสเล” กันในชุมชน  กศน.ตำบลอิปุ่ม ทำหน้าที่คล้ายศาลาประชาคม ไปพร้อมกัน  ด้วยกิจกรรมของ กศน.ตำบล  ครู กศน.ตำบล  จะทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายต่างๆ  ทั้ง อบต. อบจ. เทศบาล  ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน มีอาสาสมัครต่างๆ  ในชุมชน  เช่น  อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) อาสาสมัคร กศน. อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการบำนาญ เยาวชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามาร่วมกันทำงาน

ภูมิประเทศ
  สภาพภูมิประเทศของตำบลวังยาว  เป็นพื้นที่ลาดชันภูเขาสลับป่าไม้  อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ  400  - 1,000  เมตร  และสภาพภูมิอากาศมี  3  ฤดู  คือ  ฤดูร้อน  ฤดูหนาว  ฤดูฝน  อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาว  ประมาณ  1-10  องศาเซลเซียส  และฤดูร้อนประมาณ  10-37  องศาเซลเซียส
ในฤดูฝน มีเมฆปกคลุมเกือบตลอดฤดูปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ  1,238  มิลลิลิตร

เขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลวังยาวแบ่งออกเป็น  7  หมู่บ้าน
1. หมู่ที่  1  บ้านหนองแห้ว –  นากวย 
2. หมู่ที่  2  บ้านผึ้ง
3. หมู่ที่  3  บ้านวัวงยาว
4. หมู่ที่  4  บ้านปากแดง
5. หมู่ที่  5  บ้านกกสะตี
6. หมู่ที่  6  บ้านวังเวิน
7. หมู่ที่ 7  บ้านโพนสว่าง

ประชากร
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น  3,431คน  เป็นชาย  1,781 คน  เป็นหญิง  1,650คน       จำนวนครัวเรือน  827  ครัวเรือน  หมู่บ้านที่มีประชากรมากที่สุด  ได้แก่ บ้านปากแดง  มีประชากร      จำนวน  996  คน  รองลงมาคือ  บ้านผึ้ง  มีประชากร 544  คน  และหมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุด      ได้แก่  บ้านนากวย – หนองแห้ว มีประชากร  154คน  โดยแยกเป็นดังนี้