อำเภอผาขาว

 
  



 
 
 
 
 
แหล่งการเรียนรู้ ผ้าไหมมัดหมี่

 

ชื่อแหล่งเรียนรู้        ผ้าไหมมัดหมี่

ภูมิปัญญาท้องถิ่น    ผ้าไหมมัดหมี่

สถานที่ตั้ง  
บ้านเลขที่  30  หมู่ที่  4  บ้านโสกนกไก่นาง ตำบลโนนป่าซาง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

กิจกรรมที่ให้บริการ                
คิดลาย การทอผ้าไหมมัดหมี่

วันเวลาที่ให้บริการ     
ทุกวัน  ตั้งแต่เวลา   08.30  - 17.00 น.

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม                   
ขึ้นอยู่กับลายอ่านยาก อ่านง่าย

ผู้รับผิดชอบ    
นางเข็มมา  นาสมวงษ์
วุฒิการศึกษา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
อาชีพ เกษตรกรรม
เกิด วันที่ 10 มิถุนายน  2492

ประโยชน์ที่ใช้สอย          
ตัดชุดต่างๆ   ทำผ้าปูโต๊ะ  ชาวต่างชาตินิยมซื้อไปทำผ้าม่านในบ้าน

วัตถุดิบที่ใช้                                   
   1.เส้นไหม
   2.สีเคมี ที่ใช้ด่อง และย้อมผ้าไหม
นำมาจาก     
เกษตรในพื้นที่ และภูมิปัญญาเลี้ยงไหมเอง

แรงงาน         
ขึ้นอยู่กับลายมัดหมี่ 1 ลาย/ 1 คน มัด  การทอก็ต้องใช้คนที่มีความชำนาญพิเศษลาย

ผลิตภัณฑ์จัดอยู่ในประเภท     
ผ้าและเครื่องแต่งกาย

ประเภท               
กลุ่มผู้ผลิตชุมชน

ประวัติความเป็นมา                      
    
 ผ้าไหมเป็นหัตกรรมพื้นบ้านที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งสีสันลวดลาย อ่อนช้อย สวยงาม ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเป้นเอกลักษณ์ยากที่จะหาชนชาติใดเลียนแบบได้ เป็นศิลปะที่เรียนรู้จากประสบการณ์  การสังเกต การบอก การลองปฏิบัติ แล้วจำ เป็นการถ่ายทอดสืบสานความรู้ของบรรพบุรุษให้กับอนุชนรุ่นหลัง  การทอผ้าของนางเข็มมา นาสมวงษ์  ได้เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดมาจาก นางเขียน อาชาเขียว เพื่อนบ้านที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งถือเป็นครูคนแรกที่ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านการทอผ้าไหมให้ ด้วยความใฝ่รู้ ใฝ่อยากเรียนของนางเข็มมา นาสมวงษ์เอง และได้มีความรู้ทอผ้าติดตัวมาจนเท่าทุกวันนี้ การนำเสนอข้อมูล

วิธีการทอ
    การทอผ้าไหมของนางเข็มมา นาสมวงษ์ จะทอด้วยกี่พื้นเมือง ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้
    1.นำรังไหมที่ได้จากการเลี้ยง ประมาณ 28 – 30 วัน มาสาวไหมเพื่อให้ได้เส้นใยไหม ด้วยอุปกรณ์ สาวไหมที่เรียกว่า หม้อหลอก ซึ่งประกอบด้วย เตาไฟ หม้อ พวง และไม้หีบ
    2. เมื่อได้เส้นไหมแล้วก็นำนำไปฟอกกาวเพื่อให้กาวที่ติดกับเส้นไหมหลุดออกมาให้หมด ชาวบ้านเรียกว่าด่องไหม
    3.นำเส้นไหมที่ฟอกกาวแล้วไปกอใส่กี่ แล้วนำไปแกว่งไหมเพื่อให้เส้นไหมกลม เรียบลื่น
    4.นำเส้นไหมไปฟอกด่างเพื่อให้เส้นไหมเป็นสีนวลแล้วนำมามัดด้วยเชือกฟางเป็นลวดลายตามจินตนาการ เสร็จแล้วจึงนำไปย้อมสี จนกว่าจะได้ ลวดลายและสีสันครบ ซึ่งอย่างน้อยแล้วในขั้นตอนนี้จะทำการมัดแล้ว
ย้อมอยู่ประมาณ 4 – 7  ครั้ง เรียกว่ามัดหมี่ เทคนิคในขั้นตอนนี้ก็คือ การมัดเชือกฟางนั้นต้องมัดให้แน่น เพราะถ้าไม่แน่นแล้ว สีที่แย้มแต่ละสีจะลามกินกันทำให้ลายผ้าที่ทอออกมาแล้วไม่สวยงาม
    5.นำเส้นไหมที่มัดลายเสร็จแล้วไปปั่นใส่หลอดด้าย เพื่อเตรียมการนำไปทอเป็นผืนผ้าต่อไป