สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย
ขอแสดงความยินดีกับด้อกเตอร์คนแรกของ กศน.เลย

ว่าที่ร้อยตรีสมปอง วิมาโร
ประวัติส่วนตัว    
วัน เดือน ปี เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ.2504
ที่อยู่ปัจจุบัน 172/3 ถนนเลย-นาด้วง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
ประวัติการศึกษา    
ปริญญาตรี ค.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป) วิทยาลัยครูสงขลา พ.ศ.2528
ปริญญาโท ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2538
ปริญญาเอก ปร.ด. (ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ.2551
ตำแหน่งปัจจุบัน    
     ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย
สถานที่ทำงาน    
     สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย ถนนสถลเชียงคาน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
ข้อมูลดุษฎีนิพนธ์    
     ชื่อเรื่อง   การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
     กรรมการที่ปรึกษา 1. รองศาสตราจารย์ ดร.สนม ครุฑเมือง ประธานกรรมการที่ปรึกษา
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง กรรมการที่ปรึกษาร่วม
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรธิรา ผลงาม กรรมการที่ปรึกษาร่วม
สอบเค้าโครงดุษฎีนิพนธ์ วันที่ 25 มีนาคม 2551  
สอบป้องกันดุษฎีินิพนธ์ วันที่ 9 ตุลาคม 2551  
บทคัดย่อ    

สมปอง วิมาโร : การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ในประเทศไทย และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีการศึกษา 2551
ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ดร. สนม ครุฑเมือง
                               รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง
                               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรธิรา ผลงาม
321 หน้า

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้ ตลอดชีวิต ประเภทห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย ประเทศไทย ห้องสมุดประชาชนและ ศูนย์วัฒนธรรมเด็กแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว (2) เพื่อสร้างรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเทศไทย และสปป.ลาว (3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในประเทศไทยประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดขอนแก่น ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดมหาสารคาม ผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดอุดรธานี ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอ และบรรณารักษ์ ในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดเลย และผู้ใช้บริการศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต จำนวน 254 คน สำหรับใน สปป.ลาวประกอบด้วย หัวหน้าแผนกแถลงข่าวและ วัฒนธรรม เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เจ้าหน้าที่ศูนย์วัฒนธรรมเด็ก และผู้ใช้บริการห้องสมุดและ ศูนย์วัฒนธรรมเด็กแขวงหลวงพระบาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เชิงคุณภาพเป็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย

1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานของแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเภทห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย ประเทศไทย พบว่า สภาพที่ตั้งมีทำเลดี เป็นอาคารเอกเทศ การจัดห้องยังไม่เป็นสัดส่วน มี บรรณารักษ์ 2 คน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ค่อนข้างน้อย ไม่ทันสมัย การให้บริการเฉพาะในวันและเวลาราชการเท่านั้น ไม่มีการใช้สื่ออิเลคทรอนิคส์ มีกิจกรรมส่งเสริมการการอ่าน การเล่านิทาน การประกวดเรียงความ และการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายมีน้อยมาก ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือด้านสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ ส่วนที่ห้องสมุดแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว พบว่า สภาพที่ตั้งมีทำเลดี เป็นอาคารแข็งแรง สวยงาม มีการแบ่งห้องที่สำคัญคือห้องหนังสือภาษาอังกฤษ ส่วนห้องอื่น ๆ ยังไม่มีการแบ่งห้องที่ชัดเจน มีบุคลากร จำนวน 2 คนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นกลาง สื่อวัสดุและอุปกรณ์มีน้อย ไม่ทันสมัย การให้บริการสะดวก ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การเล่านิทาน การตอบปัญหาสำหรับเด็ก การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายเป็นการประสานงานระดับประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศเป็นอย่างดี ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือด้านสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ และที่ศูนย์วัฒนธรรมเด็ก แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว พบว่า สภาพที่ตั้งมีทำเลดี เป็นอาคารแข็งแรง แบ่งเป็นห้อง ๆ ตามกิจกรรม มีบุคลากรจากภายนอกที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านมาสอนเด็ก สื่อ วัสดุและอุปกรณ์เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบง่าย ๆ ราคาไม่แพง การจัดการเรียนการสอนในวันหยุดและเวลาหลังเลิกเรียน กิจกรรมมีหลากหลายประเภททั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายได้รับการสนับสนุนทั้งภายในและต่างประเทศเป็นอย่างดี ส่วนปัญหาต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย

2. รูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประเทศไทย และสปป.ลาว มี 6 รูปแบบ คือ รูปแบบอาคารสถานที่ รูปแบบการจัดบุคลากร รูปแบบสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ รูปแบบการบริการ รูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ และรูปแบบการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้

3. ผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเลย โดยมีการศึกษาดูงาน การประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนดำเนินงาน แล้วจึงนำรูปแบบไปทดลองใช้ เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นได้ประเมินผลการใช้รูปแบบโดยการประเมินความพึงพอใจ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการใช้บริการศูนย์ การเรียนรู้ตลอดชีวิตจังหวัดเลย ของผู้ใช้บริการ พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกข้อ ส่วนความพึงพอใจเป็นรายด้านทั้งหมด 6 ด้าน พบว่ามีความพึงพอใจ ในด้านการให้บริการ มากที่สุด และความพึงพอใจเป็นรายข้อ ในแต่ละด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในด้านความสะดวกและง่ายต่อการเข้าใช้บริการ ในด้านบุคลากรพึงพอใจในเจ้าหน้าที่บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสุภาพ ด้านสื่อ วัสดุและอุปกรณ์ พึงพอใจในความสะดวกในการสืบค้น ในด้านการบริการ พึงพอใจในระบบการให้บริการที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อน และมีระยะเวลาการให้บริการนอกเวลาราชการ ในด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ พึงพอใจในเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ และในด้านการประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ พึงพอใจในเรื่องการประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม

OMPONG WIMARO: THE DEVELOPMENT OF THE LIFELONG LEARNING CENTER MODELS IN THAILAND AND LAO PEOPLE’S
     DEMOCRATIC REPUBLIC
DOCTOR OF PHILOSOPHY IN REGIONAL DEVELOPMENT STRATEGIES, LOEI RAJABHAT UNIVERSITY, 2008
DISSERTATION ADVISORS: ASSOC.PROF. DR. SANOM KHRUTMUANG
     ASSOC.PROF. DR. PRACHAKSHA SAISANG AND
     ASST. PROF. DR. PATTHIRA PHON-NGAM
321 P.

 ABSTRACT

     The objectives of this research were 1) to study situations and problems on the operation of lifelong learning centers at a public library in Loei province, Thailand, a public library, and a children’s cultural center in Luang Prabang, Lao People’s Democratic Republic (PDR); 2) to develop models for lifelong learning center suitable for Thailand, and Lao PDR; and 3) to try out the developed models and evaluate the results. Sample group in Thailand consisted of directors of Khon Kaen, Mahasarakam, and Udon Thani Provincial Office of the Non-Formal and Informal Education Center, District Non-Formal and Informal Education Center librarians, and users. The sample size was 254. Sample group in Lao PDR consisted of directors of Promotion and Cultural Division, librarians, and users in Luang Prabang. In-depth interview, participant observation, focus group discussion and workshop meeting were used for qualitative data collection. Rating scale satisfactory questionnaires was used for quantitative research method. Content analysis and statistical analysis such as frequency, percentage, mean, and standard deviation were applied.

The findings were:

1 . Current situations and operational problems of the lifelong learning center, a public library of Loei province, Thailand, included situating in a good location and having its own building; unclear partitioning; having two graduated librarians; lack information-technology literate staff; lack new media and equipments; providing services only during normal working hours; insufficient use of technology, insufficient numbers of supporting activities such as story telling, and essay competition; and cooperation among networks. The most important problem was inadequate numbers of media, materials and equipments. For those of the public library at Lauang Prabang, Lao PDR included having a beautiful building situated in a good location; clear partitioning for English section but not for other sections; having two diploma graduated librarians; lack media and equipment; having simple service procedures; having supportive activities such as story telling, quiz for children; having national network cooperation; and gaining a lot of support from abroad. The most important problem was insufficiency of media and equipments. For those of the children’s cultural center at Luang Prabang, Loa PDR included situating in a good location; having partitions according to activities; having support from external experts; having simple, local-made, inexpensive media and equipments; providing services during weekends and evenings; having various activities including art and culture, health, and environment; having cooperation on both national and international level; having low level of all problems.

2. The researcher was able to develop six models for lifelong learning center suitable for Loei province, Thailand, and Loa PDR., including building, personnel, materials and equipments, services, learning promotion activities, and network learning cooperation model.

3. The results from 3-month trial at the lifelong learning center at the Non-formal Education Center in Loei province were evaluated using satisfactory questionnaires and participatory observation indicated that every level of the evaluation results was at high level. The valuation results of 6 aspects showed that service satisfaction got the highest mean. Also, the evaluation result of each item indicated that satisfactory level was the highest including having a convenient and easy-to-access building; friendliness and polite manners of the librarians; easy-to-retrieve materials; providing simple and quick service; providing activities corresponding to user’s demand; and having efficient network with other organizations such as local authorities and private sector.

 

 


ความคิดเห็น

   คะแนนสอบภาคเรียนที่ 2/2566
   ประกาศกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง จุดเน้นการดำเนินงานกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
   ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย
   ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะ ครั้งที่ ๑ และมีสิทธิเข้ารับการประเมินครั้งที่ ๒ โดยวิธีการสัมภาษณ์ ในการประเมินบุคคลเพื่อสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป
   ประกาศสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเลย เรื่อง กำหนดวัน เวลา และระเบียบที่เกี่ยวกับการประเมินเพื่อสรรหาและเลือกสรรบุคคลเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป
...